จากข่าวกระแส ส่องโครงการ เมกะโปรเจกต์ ปี 66 ที่ลงทุนดันเม็ดเงินไปกว่า 7.5 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุน 10 โครงสร้างพื้นฐานในปี 2566 เพื่อดันเม็ดเงิน 7.5 แสนล้านบาท ไว้กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยระบุถึงแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีตัวแปรสำคัญที่ต้องจับตามอง คือ การลงทุนภาครัฐ เพราะจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากกรอบวงเงินงบลงทุนรวมของภาครัฐมีจำนวนทั้งสิ้น 1,252,029.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% จากปีก่อน
รวมไปถึง เม็ดเงินจากการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะเกิดจากโครงการลงทุนสำคัญของรัฐวิสาหกิจ ควบคู่ไปกับการผลักดัน โครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ยังถือเป็นแรงกระตุ้นของเศรษฐกิจในปีนี้ โดยพบว่าการลงทุนทั้ง 2 ส่วนดังกล่าว รวมมูลค่ามากกว่า 7.5 แสนล้านบาท ซึ่งจะแบ่งเป็น
การลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2566 มีมูลค่าการลงทุนรวม 443,351 ล้านบาท และ
การลงทุนในโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งมีโครงการร่วมลงทุนที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ประกอบไปด้วย
- โครงการที่คณะกรรมการฯ เห็นชอบแล้ว จำนวน 6 โครงการ วงเงินรวม 46,450 ล้านบาท
- โครงการที่คาดว่าจะมีการเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบเพิ่มเติม จำนวน 4 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 242,420 ล้านบาท
และใน 4 โครงการ ในวงเงินลงทุนรวม 242,420 ล้านบาทนั้นคือ
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
- โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- โครงการสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ตอนรังสิต – บางปะอิน
สศช.คาดการณ์ว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่จะเป็นหัวหอกในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ โดยคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบลงทุนสูงสุด 10 โครงการ มูลค่า 83,945.12 ล้านบาท คิดเป็น 59.5% ของประมาณการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในโครงการสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย โครงการลงทุนในสาขาขนส่ง 5 โครงการ สาขาพลังงาน 3 โครงการ สาขาพาณิชย์และบริการ 1 โครงการ และสาขาสาธารณูปการ 1 โครงการ
โครงการลงทุน 10 อันดับแรกในปี 2566
- โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบ รถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) วงเงิน 1432,890 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 18,138.21 ล้านบาท
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 91,974 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 10,646.56 ล้านบาท
- โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 2 วงเงิน 28,585.93 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 10,552.04 ล้านบาท
- โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก วงเงิน 20,767.34 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 8,608.31ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม วงเงิน 61,273.31 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 7,498.62 ล้านบาท
- โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 พื้นที่โซน C วงเงินลงทุนรวม 17,343.86 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 6,129.02 ล้านบาท
- แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ 12 ปี 2560 – 2564 วงเงินลงทุนรวม 15,493.84 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 5,863.73 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ วงเงินลงทุนรวม 76,368.66 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 5,752.88 ล้านบาท
- โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 วงเงิน 28,142.5 ล้าานบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 54,559.68 ล้านบาท
- โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 – 9 วงเงินลงทุนรวม 42,557.14 ล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายการลงทุน 5,296.06 ล้านบาท
ที่มา : bangkokbiznews.com