กว่าจะมาเป็น เกษตรอินทรีย์

กวาจะมาเป็น เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ ในระยะการปรับเปลี่ยนระบบการทำเกษตร จากแบบเดิม มาเป็นแบบอินทรีย์ ต้องวางแผนจัดการอย่างไร

ในฐานะนักทำเกษตร เมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และต่อเนื่องตาม มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะเป็น เกษตรอินทรีย์ ได้โดยไม่ยาก จะช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับ ประเภทเกษตรที่จะผลิตขึ้นมา ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ใน มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทั้งหมดอยู่แล้ว ข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจให้ท่องแท้ และมีความตั้งใจจริง มีความ ขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอยต่อปัญหา หรืออุปสรรคใด ๆ

การทำเกษตรอย่างมีความสุขในการปฏิบัติเพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ และประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง เมื่อเป็นเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอเอกสารรับรอง มาตรฐานจากภาครัฐ หรือเอกชน จึงจะนับว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์ เป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน

การใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย (ที่มา : กรมวิชาการเกษตร)

เป็นเกษตรอินทรีย์ ต้องทำอย่างไร

การเลือกพื้นที่สำหรับทำเกษตร ให้เป็น อินทรีย์ ต้องคำนึงในหลายด้าน เช่น..

  • ควรเลือกพื้นที่เหมาะสม โดยอยู่ห่างโรงงาน หางแปลงปลูกที่ใช้สารเคมี มีแหล่งน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน
  • ศึกษาประวัติพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ยและสารเคมี ย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี
  • เลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน โดยให้พิจารณาว่าดินมีทั้งดินร่วน ดินเหนียว หน้าตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด ดินเป็นด่าง ดินเค็ม เป็นต้น จึงควรพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ขึ้นอยู่เดิม
  • สังเกตจากพืชที่ขึ้นอยู่เดิม เก็บตัวอย่างดิน น้ำ ไปทำการวิเคราะห์

กวาจะมาเป็น เกษตรอินทรีย์

การวางแผนจัดการในการทำเกษตร


hosting สำหรับ wordpress โดยเฉพาะ
hosting คุณภาพสำหรับ wordpress โดยเฉพาะ

  • วางแผนป้องกันสารพิษจากภายนอก ทั้งทางน้ำและทางอากาศ การป้องกันทางน้ำโดนขุดคูรอบแปลง การป้องกันทางอากาศโดยปลูกพืชกันชน ทั้งไม้ทรงสูง ทั้งไม้ทรงสูง ทรงสูงปานกลางต้นเตี้ย บนคันกั้นน้ำรอบแปลง
  • วางแผนป้องกันภายในจัดระบบการระบายน้ำ การเก็บรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และการเข้าออกไร่นา
  • วางแผนระบบการปลูกพืช เลือกฤดูปลูกที่เหมาะสมใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค-แมลง พืชบำรุงดิน พืชไล่แมลง

การเลือกพันธุ์พืชเพื่อการเพาะปลูกในแบบอินทรีย์

  • คำนึงถึงสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อ โรค-แมลง และวัชพืช ความหลากหลายของชนิดพืชในแปลง
  • ไม่ใช้พืชจีเอ็มโอ (พืชที่มาจาการตัดต่อสารพันธุกรรม)
  • ควรเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มาจาการปลูกแบบอินทรีย์

การปรับปรุงบำรุงดินในแบบอินทรีย์

  • เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ห้ามตัดไม้ทำลายป่า)
  • ถ้าดินเป็นกรดจัดใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด
  • ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบ ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น (โสรนควรปลูกในนา ถั่วต่าง ๆ ควรปลูกในไร่)
  • ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน และให้ธาตุอาหารพืช
  • ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต
  • ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก ศูนย์พัฒนาการ ทำเกษตรอินทรีย์ ในส่วนภูมิภาคซึ่งมีหลายจังหวัด
เรียบเรียง : www.swenth.com

share on: