หลายคนถามมา หลังเห็นหรืออ่านข่าว สภาพอากาศและพยากรณ์อากาศ โดยเฉพาะในช่วงนี้ ฝุ่น PM 2.5 ที่มีแนวโน้มว่า น่าจะหายไปยากกับท้องฟ้าเมืองไทย
และมีคำนึงที่ไม่รู้จักคือ จุดความร้อน หรือ Hot Spot มันคืออะไรกันแน่ มีความสำคัญอย่างไร และสาเหตุที่มันเกิด และสามารถทำให้มันหายไป ได้ไหม ทำอย่างไร มีความเกี่ยวข้องอะไรกับฝุ่น PM 2.5 และสภาพอากาศโดยรวม วันนี้มีคำตอบมาให้
จุดความร้อน (Hot Spot) คืออะไร
หลายคนคุ้นชินกับเรื่อง ไฟป่า และกลุ่มควันปกคลุม รวมไปถึงการเข้าเช็คจุดความร้อน เจ้านี่แหละคือตัวปัญหา เพราะ จุดความร้อน หรือที่เข้าใจกันง่าย ๆ คือ จุดที่ดาวเทียมตรวจพบ ค่าความร้อนสูงผิดปกติ จากค่าความร้อนบนผิวโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ความร้อนจากไฟ และแสดงในรูปแบบแผน
จุดความร้อนที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนอ ตำแหน่งที่เกิดไฟในแต่ละพื้นที่แบบคร่าว ๆ การได้มาซึ่งข้อมูลจุดความร้อน จะอาศัยหลักการคือ ดาวเทียมตรวจวัดคลื่นรังสีอินฟาเรด หรือรังสีความร้อนที่เกิดจากไฟ (อุณหภูมิสูงกว่า 800 องศาเซลเซียส) บนพื้นผิวโลก จากนั้นก็ประมวลผล และแสดงในรูปแบบจุด ซึ่งปัจจุบัน ทุกคนสามารถตรวจสอบจุดความร้อนเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง จากเว็บไซต์ 5 รายการดังนี้
1. Fire Information for Resource Management System (FIRMS) พัฒนาโดย NASA สำหรับเผยแพร่ข้อมูลจุดความร้อนทั่วโลก อัพเดทภายใน 3 ชั่วโมงนับจากดาวเทียมทำการถ่ายภาพ ทั้งเซนเซอร์ MODIS และ VIIRS (https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/map/)
2. Global Wildfire Information System (GWIS) แรกเริ่มพัฒนาโดยความร่วมมือระหว่าง Group on Earth Observations (GEO) และ Copernicus ภายหลังได้รับการสนับสนุนจาก NASA นอกจากจะเผยแพร่ข้อมูลจุดความร้อนทั่วโลกเช่นกันแล้ว GWIS ยังวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่าล่วงหน้า 1-9 วันบนพื้นฐานจากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาได้อีกด้วย (http://gwis.jrc.ec.europa.eu/…/gwis…/public/index.html)
3. NASA Worldview พัฒนาโดย NASA ภายใต้โครงการ Earth Observing System Data and Information System (EOSDIS) จุดเด่นอยู่ที่สามารถแสดงข้อมูลจุดความร้อนซ้อนทับบนภาพถ่ายจากดาวเทียม Terra, Aqua หรือ Suomi-NPP แบบรายวันหรือภาพอัพเดทล่าสุดได้ ยิ่งจะทำให้เราเข้าใจถึงสถานการณ์ของไฟป่ามากยิ่งขึ้นเมื่อปรากฏข้อมูลจุดความร้อนและกลุ่มควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ และนอกจากนั้น เมื่อกดปุ่ม Add Layers ผู้ใช้สามารถเพิ่มข้อมูลแสดงบนแผนที่อีกมากกว่า 900 รายการ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยแล้ง พายุ น้ำท่วม คุณภาพอากาศ เป็นต้น (https://worldview.earthdata.nasa.gov/)
4. EO-Browser พัฒนาโดย European Space Agency (ESA) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-1, Sentinel-2, Sentinel-3, Sentinel-5P, Landsat 5, 7-8 รวมถึงข้อมูลภาพจากเซนเซอร์ MODIS แม้ว่าเว็บไซต์นี้จะไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลจุดความร้อน แต่ก็มาพร้อมกับฟังก์ชั่นการผสมสีภาพดาวเทียมที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อผสมสีด้วยฟังก์ชั่น SWIR กับข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-2 จะทำให้เราแยกแยะแนวไฟป่าและพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้ได้อย่างชัดเจน (https://apps.sentinel-hub.com/eo-browser/)
5. Gustda ประเทศไทย จิสด้าได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทั้งภาครัฐและประชาชนทั่วไป โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจุดความร้อนจากทั้ง 2 เซนเซอร์และจัดทำเป็นแผนที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://fire.gistda.or.th/ อัพเดททุกวันซึ่งล่าสุดสถานการณ์จุดความร้อนโดยรวมทั้งประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2562 ส่งผลให้สภาพอากาศเริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพขึ้นทุกวันตามไปด้วย
การนำข้อมูลจุดความร้อนมาใช้งาน จะต้องเข้าใจคุณสมบัติที่มากมายของมันก่อน โดยเฉพาะในเรื่องของขนาดจุดภาพ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ตรงกับลักษณะของงาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนเกี่ยวอะไรกับฝุ่น PM 2.5 นั้น ก็เพราะ จุดความร้อนเหล่านี้ เป็นสาเหตุหลักของการเกิด ไฟป่าในหลายพื้นที่ และกลุ่มฝุ่น ควัน จากไฟเหล่านี้ จะสร้างฝุ่น PM 2.5 ได้ง่ายที่สุด นั่นเอง