แนวทางแก้หนี้เสียให้ธุรกิจอย่างยั่งยืน

แนวทางแก้หนี้เสียให้ธุรกิจอย่างยั่งยืน

ผลการศึกษาทางแก้หนี้เสียอย่างยั่งยืน แนะดึงนักลงทุนสถาบันในกลุ่มธุรกิจใหม่ และบริษัทบริหารกองทุน Private Equity ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย

การศึกษาล่าสุดโดยบริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด (ดีลอยท์) ชี้ถึงโอกาสในการแก้ปัญหาหนี้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นชูมาตรการด้านภาษี และผ่อนปรนข้อจำกัดในการลงทุนเพื่อให้นักลงทุนสถาบันในกลุ่มใหม่ เช่น บริษัทประกันภัย และกองทุนประกันสังคม รวมถึงบริษัทบริหารกองทุน เช่น Private Equity Firms และ Hedge Funds เข้ามามีส่วมร่วมในการจัดการหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น

จากการศึกษาการแก้หนี้เสียให้ธุรกิจ พบว่าประเทศไทยได้มีการพัฒนากลยุทธ์และแนวทางการบริหารหนี้เสียอย่างเคร่งครัด ในช่วง ปี พ.ศ. 2540 เพื่อรับมือกับเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางการเงิน อย่างไรก็ดี กลยุทธ์และความสามารถใหม่ ๆ ในการจัดการหนี้เสียไม่ได้มีการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา และวันนี้ประเทศไทยกําลังเผชิญกับปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นอีกครั้ง

ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “แนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในประเทศไทย จากการวิเคราะห์กรณีศึกษาในต่างประเทศ ชี้ถึงการมีแนวทางการกำกับดูแลที่ชัดเจน และมีมาตรการทางธุรกิจที่จูงใจ อาทิ มาตรการทางภาษี เพื่อดึงดูดกลุ่มนักลงทุนสถาบันหรือผู้จัดการหนี้เสียที่มีความหลากหลายและในวงกว้างขึ้น เช่น

บริษัทผู้บริหารกองทุน Private Equity, กองทุนรวมเพื่อความเสี่ยง (Hedge Funds), และ ผู้จัดการกองทุนประเภท General Partners (GPs) เป็นต้น

พยากรณ์อากาศเช้านี้ฝนตก

กลุ่มนักลงทุนเหล่านี้สามารถนําความรู้และความสามารถในการปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการสู่ตลาดทุนประเทศไทย เพื่อช่วยให้บริษัทที่มีภาวะตึงเครียดทางการเงินมีทางเลือกในการจัดการหนี้แบบครบวงจร เช่น โอกาสในการร่วมงานกับนักลงทุนสถาบันหรือผู้จัดการหนี้เสียเพื่อฟื้นฟูกิจการจากการล้มละลาย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดให้แก่บุคลากรท้องถิ่น”

หากเทียบกับตลาดชั้นนำในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นั้น แนวทางและหลักการเรื่องของการปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการเป็นรากฐานสำคัญที่ปลูกฝังอยู่ในระบบนิเวศตลาดทุนของเขา บริษัทในสหรัฐฯ มีโอกาสทํางานร่วมกับกลุ่มนักลงทุนเพื่อให้บริษัทของพวกเขามีโอกาสครั้งที่สอง เรามักจะไม่ได้เห็นสถานการณ์ลักษณะนี้กับบริษัทในประเทศไทย เนื่องจากข้อจำกัดในขีดความสามารถในการฟื้นฟูกิจการ

เคนเนท เทย์ หุ้นส่วน บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “การศึกษายังมองถึงแนวทางการเพิ่มสภาพคล่องของตลาด (Market Liquidity) โดยการทบทวนกฎระเบียบและพิจารณาผ่อนปรนข้อจำกัดในการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบันประเภทต่างๆ เช่น บริษัทประกันภัย กองทุนประกันสังคม กองทุนบําเหน็จบํานาญ และ/หรือสํานักงานครอบครัว (Family Offices) เพื่อตอบโจทย์ปัญหาหนีเสียที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ดี ยังคงต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม”


hosting สำหรับ wordpress โดยเฉพาะ
hosting คุณภาพสำหรับ wordpress โดยเฉพาะ

“ตลาดหนี้เสียในประเทศไทยทุกวันนี้มีลักษณะที่เน้น บริษัทบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Companies) เป็นศูนย์กลาง ซึ่งในระบบนิเวศที่แข็งแกร่งและยั่งยืนนั้น เราต้องการให้มีผู้เล่นที่หลากหลายเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดทุน เพื่อให้เกิดกระบวนการค้นหาราคาที่เหมาะสม (Price discovery) ของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เสริมสร้างความสามารถให้เพียงพอในการจัดการกับหนี้ที่เพิ่มขึ้น และมีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขหนี้” นิลภา บูชาสุข ผู้จัดการอาวุโส บริษัท ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าว

“เราทราบดีว่าปริมาณหนี้เสียในประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเราต้องการจัดการกับหนี้เหล่านี้อย่างเหมาะสม เราจะต้องปรับปรุงระบบนิเวศของเราให้ทันสมัย ดึงดูดเงินลงทุนที่เพียงพอ และดึงดูดบุคลากรผู้มีความสามารถทางการเงินเพื่อสามารถจัดการวิกฤตการณ์ทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.เมธินี กล่าว

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ The future of distressed debt in Thai capital markets

share on: