เปิด 25 จังหวัดฝุ่น PM2.5 พุ่งเกินมาตรฐาน กทม.ยังวิกฤต

ฝุ่น PM 2.5 Polution

เมื่อวานที่กรมประชาสัมพันธ์ คลอง มีมือบอนเผาไฟ ไหม้ทั้งคืน เช้ามาเจอแต่เขม่าทั่วไปหมดในคลอง 2 คลอง 7 ปทุมธานี

ทางเจ้าหน้าที่จับมือใครดมไม่ได้ ส่วนจังหวัดอื่นก็อ่วมพอกัน PM2.5 เกินมาตรฐานไป 41 เขต ด้าน กทม. ก็วิกฤตหนัก คาดว่าฝุ่นคงไม่หายไปในเร็วนี้

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ได้สรุปผล การตรวจวัด PM2.5 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 39-63 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 51.2 มคก./ลบ.ม. โดยค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเกินมาตรฐานจำนวน 41 พื้นที่ อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 41 พื้นที่

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 41-63 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 41 พื้นที่ คือ

1.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.
2.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.
3.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
4.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
6.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
7.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
8.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
9.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
10.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
11.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
12.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
13.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
14.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
15.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

16.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
17.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
18.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
20.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
21.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
22.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
23.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
24.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
25.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
26.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
27.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
28.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
29.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
30.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

31.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
32.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
33.สวนหนองจอก เขตหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
34.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
35.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
36.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
37.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
38.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
39.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
40.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
41.อุทยานเบญจสิริ (สวนเบญจสิริ) เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) ในช่วงวันที่ 28 กุมภาพันธ์-8 มีนาคม การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์อ่อน/ดี ประกอบกับมีสภาพอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันที่ 2 มีนาคม จึงมีแนวโน้มเกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 หลังจากนั้นการระบายอากาศจะค่อยๆ ดีขึ้น เนื่องจากมีสภาพอากาศเปิด และมีฝนตกในบางพื้นที่ในวันที่ 6 มีนาคม จึงส่งผลให้การสะสมตัวของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มลดลง

ในวันนี้บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส ควรระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ ระหว่างวันที่ 1-4 มีนาคม พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่

จากการตรวจสอบข้อมูล จุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.42 น. จำนวน 2 จุด

1.ซอยแซฟฟรอน ฮิล เขตมีนบุรี
2.ซอยหมู่บ้านพาร์คเวย์ชาเล่ต์ เขตมีนบุรี

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ เวลา 13.35 น. จำนวน 3 จุด แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา (ทั้ง 3 จุด)

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 02.10 น. จำนวน 1 จุด แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี

ด้าน ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 07.00 น. สรุปดังนี้

ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน จ.ปทุมธานี กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.สมุทรปราการ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.พะเยา จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.ตาก จ.พิษณุโลก จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.อุทัยธานี จ.สระบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.หนองคาย และ จ.เลย

ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 43-129 มคก./ลบ.ม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 2 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 20-65 มคก./ลบ.ม.
ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 32-57 มคก./ลบ.ม.
ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ตรวจวัดได้ 24-49 มคก./ลบ.ม.
ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 17-43 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 40-81 มคก./ลบ.ม.

คำแนะนำทางสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์


hosting สำหรับ wordpress โดยเฉพาะ
hosting คุณภาพสำหรับ wordpress โดยเฉพาะ

สำหรับประชาชน​ที่อยู่​บริเวณพื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ​ (พื้นที่สีแดง)​ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์ผ่านทางเว็บไซต์ Air4Thai.com และ airbkk.com แอพพลิเคชั่น Air4Thai และ AirBKK

ที่มา : มติชนออนไลน์
เรียบเรียง : www.swenth.com

share on: