รถยนต์ไฟฟ้า เป็นรถที่ใช้พลังงานทางเลือก หากเหตุผลที่เลือกคือ ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย สิ่งแรกที่ต้องคำนึง ไม่ใช่แค่นั้น ลองมาดูกันว่า ก่อนคิดจะซื้อหรือมีไว้ครอบครองซักคันนึง ควรต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง..
ในยุคนี้ รถยนต์ อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว แต่เมื่อพลังงานหลายอย่าง มีราคาพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ แบบฉุดไม่อยู่ และถึงแม้เราอยากจะมีรถยนต์ EV ซักคันนึงไว้ใช้ แต่มั่นใจได้อย่างไรว่า เมื่อมีไว้ครอบครองแล้ว จะง่ายดายเหมือนกับการ ซื้อรถยนต์แบบใช้น้ำมัน
สำหรับวันนี้ swenth.com อยากมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กัน
รถยนต์ไฟฟ้า คิดจะซื้อ ต้องเตรียมตัวอย่างไร
คิดจะเปลี่ยนจาก รถยนต์ใช้เชื้อเพลิง มาเป็น รถยนต์ไฟฟ้า 100% สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือ ระบบไฟฟ้า ภายในบ้าน ถ้ามิเตอร์ และสายไฟ ที่ใช้ภายในบ้าน มีขนาด เล็ก เกินไป เหตุผลที่เราต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย อาจกลายเป็นเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย
และ อาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ ๆ ตามมาทีหลัง หากไม่คิดหน้าคิดหลังให้ดีก่อน
- ตรวจสอบขนาดของ มิเตอร์ไฟ ภายในบ้าน
- เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB)
- เปลี่ยนตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
- ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
- เพิ่มอุปกรณ์ เต้ารับ (EV Socket)
ขนาดของ มิเตอร์ไฟ ภายในบ้าน
ปกติ ขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไป จะเป็นแบบ 15(45) 1 เฟส (1P) คือ มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ (A) ใช้ไฟได้ 45(A) หากต้องการชาร์จ รถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน แนะนำให้เปลี่ยนเป็น มิเตอร์ขนาด 30 (100) และถ้าภายในบ้าน ใช้ไฟฟ้าไม่มาก โดยวัดการใช้ไฟฟ้าง่าย ๆ คือ รถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน กินไฟเท่ากับ แอร์ขนาด 24,000 BUT จำนวน 1 เครื่อง บ้านหลังเล็กโดยปกติ จะใช้แอร์ไม่เกิน 2-3 เครื่อง ถ้ามีประมาณนี้ก็ ไม่มีความจำเป็น ต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟแบบ 2-3 เฟสที่มีราคาสูง
สายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB)
สำหรับสายเมน ควรปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างน้อย 25 ตร.มม. ส่วนลูกเซอร์กิต (MCB) เป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ก็ต้องเปลี่ยนเป็น 100 (A) การปรับเปลี่ยนต้องทำโดยช่างที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ต้องสอดคล้องกัน
ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
ควรตรวจสอบภายในตู้เมนเบรกเกอร์ ว่ามีช่องว่างสำรองเหลือให้ติดตั้ง Circuit Breaker หรือเปล่า เนื่องจากการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องมีการแยกวงจรเฉพาะส่วน ไม่รวมกับการใช้งานของเครื่องไฟฟ้าภายในบ้าน ถ้าตู้ไม่มีช่องว่าง ต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยสำหรับการใช้งานรถยนต์ 1 จุด แยกออกจากเมนเบรกเกอร์ เดิม
เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
เป็นเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า หากกระแสไฟฟ้าที่ใช้ มีการไหลเข้าออกไม่เท่ากัน ซึ่งอาจส่งผลให้ ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัว ก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเพิ่ม
เต้ารับ (EV Socket)
สำหรับ การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เต้าเสียบจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) สามารถต้านทานกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 16(A) รูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถยนต์แต่ละรุ่น
ความเร็วในการชาร์จของ รถยนต์ไฟฟ้า
ความเร็วในการชาร์จไฟนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับไฟ (On Board Charger) ของ รถยนต์ไฟฟ้า รุ่นนั้น ๆ ก็คือ ความสามารถของ ตัวควบคุมการดึงพลังงานไฟฟ้า จาก ตัวรถ สั่งการไปยังเครื่อง EV Charger โดยทั่วไปขนาดมีตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ตัวเครื่องชาร์จมีทั้งหมด 4 ขนาด คือ 3.7 kW, 7.4 kW, 11 kW, 22 kW (มาตรฐาน)
ราคาเครื่องชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามีหลายระดับราคา เริ่มจาก 15,000 บาท ไปจนถึง 100,000 บาท หรือมากกว่านั้น
อัตราสมมติ การชาร์จไฟฟ้า
- 1 ชั่วโมง มีค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 1 = 29.6 บาท
- 2 ชั่วโมง มีค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 2 = 59.2 บาท
- 8 ชั่วโมง มีค่าไฟฟ้า = 7.4 x 4 x 8 = 236.8 บาท
เมื่อชาร์จแบตเตอรี่จนเต็ม 80-100% จะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าไฟ 236.8 บาท วิ่งได้ระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 1.4 บาท ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะอยู่ที่ประมาณ 3-5 บาท ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร ประหยัดไปหลายเท่าตัวอยู่เหมือนกัน
สิ่งสำคัญก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ควรดูว่า แบตเตอรี่ ของรถรุ่นนั้นมีความจุเท่าไร ถ้าแจ้งมาว่าทำระยะทางได้ 370 กิโลเมตร ก็หักออกไปได้เลย 20% การทำระยะทางที่แท้จริง จะอยู่ที่ 340 กิโลเมตร และควรตรวจดู สเปก On Board ของรถว่า รับพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุด เท่าไร การรับพลังงานไฟฟ้าได้มาก มีผลกับความเร็วในการชาร์จ ใช้เวลาในการชาร์จน้อย แต่ก็จะมีค่าไฟที่เพิ่มขึ้นจากการอัดประจุไฟที่เกิดขึ้น
ส่วนใหญ่ On Board ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก จะอยู่ในรถยนต์ไฟฟ้าราคาแพง
อ้างอิง : thairath.co.th
เรียบเรียง : swenth.com