ติดโควิด-19 ไม่ต้องกักตัวแล้ว เริ่ม 1 ต.ค. 65

ติดโควิด-19 ไม่ต้องกักตัวแล้ว เริ่ม 1 ต.ค. 65

ติดโควิดไม่ต้องกักตัวแล้ว แต่ต้องเข้มกับ มาตรการป้องกัน 5 วัน

กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงว่า จากที่มีการประกาศ ปรับโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ลำดับที่ 57 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งได้ประกาศลงไปในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 1 ต.ค.2565 นี้เป็นต้นไป

ซึ่งที่ประชุม มีมติเห็นชอบ 2 เรื่องสำคัญด้วยกันคือ

1.เห็นชอบแผนปฏิบัติการควบคุมโรคโควิด-19 รองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตั้งแต่ ต.ค. 2565 – ก.ย.2566 มียุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรค
  2. ด้านการแพทย์และรักษาพยาบาล
  3. ด้านการสื่อสารความเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ และข้อมูลสารสนเทศ
  4. ด้านบริหารจัดการ กฎหมาย สังคม และเศรษฐกิจ

ซึ่งจะนำเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป เพื่อให้ทุกจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติกาสอดคล้องกับแผนหลัก เพื่อให้เกิดความพร้อมทุกด้าน และติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง หากมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจประกาศพื้นที่โรคระบาดตามความจำเป็น

2.เห็นชอบมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 รองรับการเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยยกเลิกแสดงเอกสารวัคซีนหรือผลการตรวจ ATK โรคโควิด-19 แต่ยังคงการเฝ้าระวังผู้เดินทางที่มีอาการป่วยของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่

ติดโควิด-19 ไม่ต้องกักตัว

ปรับมาตรการแยกกัก สำหรับผู้ป่วยอาการน้อย หรือ ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ ไม่ต้องกักตัว แต่ให้ปฏิบัติตามมาตรการ DMHT คือ

เว้นระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และตรวจให้ไวอย่างเคร่งครัด 5 วัน

ส่วนประชาชนให้มีพฤติกรรมป้องกันตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น สวมหน้ากากในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น หรือเป็นพื้นที่อากาศไม่ถ่ายเท ล้างมือ และตรวจ ATK เมื่อมีอาการ, สถานประกอบการให้คัดกรองพนักงานเป็นประจำ หากจำเป็นต้องตรวจ ATK ที่มีอาการโรคทางเดินหายใจก็ให้ดำเนินการ และ COVID-Free Setting ขึ้นกับการพิจารณาของผู้บริหารดำเนินการตามความเหมาะสม

ติดโควิด-19 ไม่ต้องกักตัวแล้ว เริ่ม 1 ต.ค. 65

ที่ประชุมยังรับทราบอีก 4 เรื่อง คือ

1.แผนบริหารจัดการวัคซีนและการให้วัคซีนโควิด-19 ในเด็กอายุ 6 เดือน – 4 ปี คาดว่าเริ่มให้บริการได้ช่วงกลางเดือน ต.ค.2565 ตามความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็ก โดยไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการไปโรงเรียน แต่แนะนำให้เด็กทุกคนเข้ารับวัคซีน โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต

2.แนวทางการใช้ Long Acting Antibody (LAAB) ของประเทศไทย ในประชาชนกว่า 3.5 พันคน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับวัคซีนแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น เพื่อให้มีภูมิต้านทานต่อเชื้อก่อโรคโควิด-19

3.แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย การดูแลรักษา และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคโควิด-19 หลังการระบาดใหญ่ (Post-pandemic) ซึ่งสธ.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรองรับ เพื่อให้ประชาชนยังสามารถใช้สิทธิการรักษาเช่นเดียวกับโรคทั่วไป ทั้งการเข้าถึงการรักษาและได้รับยาต้านไวรัสตามแนวทางการรักษา รวมถึงการแยกกักผู้ป่วยที่สอดคล้องกับสถานการณ์ระยะต่อไป

4.โครงการการใช้ยาคลอโรควินเพื่อป้องกันและลดการแพร่เชื้อมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ในพื้นที่ที่มีการระบาดบริเวณชายแดนไทย – เมียนมา

ผู้สื่อข่าวถามย้ำ ถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล สธ.ได้กล่าว่า เหมือนเดิมทุกอย่าง กรณี UCEP หรือ UCEP Plus ยังคงอยู่ เพราะยังถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ ยังไม่มียาที่มาจดทะเบียนใช้ในภาวะปกติ แต่ยังเป็นการจดทะเบียน นำมาใช้ในการดูแลรักษาโควิด-19 ยังอยู่ภายใต้แบบฉุกเฉิน


hosting สำหรับ wordpress โดยเฉพาะ
hosting คุณภาพสำหรับ wordpress โดยเฉพาะ

ติดโควิด-19 ไม่ต้องกักตัวแล้ว เริ่ม 1 ต.ค. 65

รวมถึงวัคซีนด้วย จึงยังมีความเหมาะสมที่ยังคงต้องให้การรักษาดูแลประชาชนโดยภาครัฐอยู่ ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วต้องการไปพบแพทย์หรือแพทย์วินิจฉัยว่าไม่ต้องนอนรักษาในรพ. แต่ผู้ติดเชื่้อยังประสงค์นอนรพ.ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง

ด้านนพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีแดง เช่น หายใจล้มเหลว หรือความดันตก ยังคงมีสิทธิของUCEP Plus คือเข้ารักษาได้ทุกสถานพยาบาล และให้รับรักษาจนหาย ซึ่งจะต่างจากUCEP ทั่วไปที่จะรักษาจนพ้นภาวะวิกฤติและส่งกลับสถานพยาบาลตามสิทธิใน 72 ชั่วโมง

ที่มา : www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1028112

share on: