ความหมายของค่า Ft คืออะไร มีผลกับราคาไฟฟ้าอย่างไร

ค่า Ft คืออะไร มีผลอย่างไร กับราคาค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่าย

เป็นกระแสอย่างหนัก สำหรับค่า Ft ที่การไฟฟ้า ประกาศขึ้นราคา มากกว่า 300% หลายคนเจอกับปัญหาราคาค่าไฟฟ้า เหมือนจะไม่ยุติธรรม ใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม ที่เพิ่มเติมคือจ่ายมากขึ้น

ปัญหาหนักที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ ในสื่อโซเชียลหลายแห่ง ไม่ต้องบอกก็รู้ ถ้าไม่ใช่ข่าวดาราที่พัวพัน Forex-3D แล้ว ค่าไฟที่เพิ่มขึ้น เพราะสูตรคำนวณค่า Ft นี่ก็อีกหนึ่งข่าวยอดนิยม วันนี้ swenth จะสรุปมาให้ฟังว่า ปัญหามันคืออะไรกันแน่ ทำไมเราต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้น แล้วใครได้ประโยชน์ รวมไปถึงหลากหลายคำถามที่ว่า ค่า Ft คืออะไร มันมีผลอย่างไร กับราคาค่าไฟฟ้า ที่ประชาชนตาดำ ๆ อย่างเรา ๆ ท่าน ต้องจ่าย

และเรื่องจริงของการไฟฟ้า บริหารขาดทุนจริงหรือ ถึงต้องให้ประชาชนแบกรับ บลาๆ ตรงนี้อาจเกินความสามารถ ยังไงก็ของดเว้นการระบายความในใจเอาไว้ก่อน อุอิ

ค่า Ft คืออะไร

ถ้าพูดกันตามประสาชาวบ้าน ค่า Ft มันก็เหมือน ค่าเงินที่เก็บเอาไปเข้ากองทุนน้ำมัน นั่นแหละ ต่างกันแค่ เงินที่เก็บได้ เอาไปทำอะไร

จากความหมายเดิมนั้น Ft ย่อมาจากคำว่า Float time มีความหมายว่า การลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการคำนวณ

ค่า Ft คืออะไร มีผลอย่างไร กับราคาค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่าย

แต่เนื่องจากตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัย ที่ใช้ในการคำนวณสูตร Ft ให้คงเหลือเพียง ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชน และประเทศเพื่อนบ้าน เท่านั้นที่ กฟผ.ไม่สามารถควบคุมได้ ค่าใช้จ่ายเหล่านั้น จึงถูกนำไปคำนวณในสูตร Ft

ดังนั้น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้ประสานงานกับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง เพื่อเปลี่ยนคำย่อของค่า Ft ให้สอดคล้องกับสูตรปัจจุบัน คือ

Ft ย่อมาจากคำว่า Fuel Adjustment Charge (at the given time)

ซึ่งก็คือ ราคาต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชน และประเทศเพื่อนบ้าน นั่นจึงถือว่า มีปัจจัยหลายองค์ประกอบ ตั้งแต่ ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ค่า Ft คืออะไร มีผลอย่างไร กับราคาค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่าย

สาเหตุของการขึ้นค่าเอฟทีในช่วงปี 2565-2566

ทางสำนักงาน กกพ. ได้ยก 4 เหตุผลหลัก ๆ ที่เป็นสาเหตุของการขึ้นค่า Ft มาดังนี้ (อ้างอิงจาก bangkokbiznews.com/news/news_update/1021349)

  • ปริมาณก๊าซในประเทศที่ลดลงจากเดิม
    ทำให้ต้องนำเข้า Spot LNG เข้ามาเสริมหรือเดินเครื่องโรงไฟฟ้าด้วยน้ำมันเพื่อทดแทนปริมาณก๊าซที่ขาด แต่ในช่วง สงครามรัสเซีย – ยูเครน ส่งผลให้ราคา Spot LNG มีราคาแพงและผันผวน ดังนั้นการทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยด้วย LNG หรือใช้น้ำมันจะส่งผลให้ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
  • การผลิตก๊าซจากเมียนมาผลิตไม่ได้ตามกำลังเดิม
    เมียนมาที่ไม่สามารถผลิตได้ตามกำลังการผลิตเดิมและมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายปี 2565 ถึงต้นปี 2566
  • สถานการณ์ผู้ผลิต LNG ชะลอการลงทุน
    อันเนื่องมาจากมีความต้องการใช้พลังงานน้อยในช่วงโควิด-19 แต่หลังจากที่หลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากโควิดทำให้ความต้องการใช้ LNG มีมากกว่ากำลังการผลิตในตลาดโลก ส่งผลกระทบต่อราคาและการเจรจาสัญญาซื้อขาย LNG
  • สภาวะสงครามรัสเซีย – ยูเครน
    สงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำให้รัสเซียลดหรือตัดการจ่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อไปยังยุโรป ทำให้ความต้องการ LNG เพิ่มขึ้นอย่างมากในยุโรปและส่งผลกระทบทางอ้อมต่อราคา LNG ในตลาดเอเชีย

ค่า Ft ถือเป็นกลไกกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ที่ปรับทุก 4 เดือน เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาค่าเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ค่าซื้อไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ

สำหรับประโยชน์ของค่า Ft คือ หากในการคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าได้คาดการณ์ราคาเชื้อเพลิงไว้สูง แต่ 4 เดือนต่อมาราคาค่าเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง หากไม่มีค่า Ft มาสะท้อนต้นทุนที่ลดลงนั้น ประชาชนก็อาจเสียประโยชน์เพราะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพง

แต่ในทางกลับกัน หากคาดการณ์ค่าเชื้อเพลิงไว้ต่ำเกินไป และต่อมาราคาค่าเชื้อเพลิงปรับขึ้น หากไม่มีค่า Ft มาช่วย ก็อาจกระทบต่อรายได้ของการไฟฟ้าและการลงทุนเพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตและความมั่นคงทางไฟฟ้าของประเทศ

ดังนั้น ค่า Ft จึงเป็นตัวสะท้อนต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ผลิตไฟฟ้า ถือเป็นกลไกที่สร้างความเป็นธรรมให้ทั้ง 2 ฝ่าย

ค่า Ft จะมีโอกาสลดลงไหม

หากประเทศไทยลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติลงได้มากเท่าไหร่ ค่า Ft ก็จะลดลงมากขึ้นเท่านั้น โดยอนาคต ประเทศไทยได้วางเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนเพื่อผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งช่วยในเรื่องของพลังงานสีเขียวแล้วยังช่วยในเรื่องต้นทุนที่ถูกลง หวังเป็นอีกปัจจัยลดภาระค่าไฟประเทศชาติและประชาชน

ใช้ไฟเท่าเดิม แต่ต้องเสียเพิ่มอีกเท่าไหร่?

ตัวอย่าง การคำนวณค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (บ้าน/หน่วย) จากการปรับค่า Ft ในเดือนกันยายน – ธันวาคม 2565 เทยบกับค่า Ft ปัจจุบันของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย 22.590 ล้านราย


hosting สำหรับ wordpress โดยเฉพาะ
hosting คุณภาพสำหรับ wordpress โดยเฉพาะ

  • ครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย จะเห็นว่า ในส่วนของครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย (เฉลี่ย 72 หน่วย/ราย/เดือน) แต่ก่อนค่าไฟต่อหน่วยอยู่ที่ 3.70 บาท เพิ่มมาเป็น 4.38 บาท จะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นจาก 264 บาท เป็น 313 บาท
  • ครัวเรือนที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วย ในส่วนของครัวเรือนที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วย (เฉลี่ย 332 หน่วย/ราย/เดือน) แต่ก่อนค่าไฟต่อหน่วยอยู่ที่ 4.28 บาท เพิ่มมาเป็น 4.96 บาท จะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นจาก 1,418 บาท เป็น 1,645 บาท

ค่า Ft คืออะไร มีผลอย่างไร กับราคาค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่าย

8 ปี มาปฏิรูปโครงสร้างพลังงาน = แพงขึ้น ค่า FT ขึ้นสุงมาก มากถึง 377% เลย คิดยังไง ดูสูตร ค่า FT ปัจจุบัน / ค่า FT เก่า = (0.9343 / 0.2477 = 3.771 ) x 100 = 377.19%

แต่เราจะไม่ได้เห็น ค่าไฟต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วย อีกต่อไปแล้วในอนาคตนี้

คำกล่าวนี้ ผู้เขียนเองก็จำไม่ได้แล้ว ว่าเป็นคำกล่าวจากใคร แต่คิดว่า น่าจะเรื่องจริง

ขอบคุณภาพ : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
เรื่อง : www.bangkokbiznews.com / facebook.com/sorrayuth9115
เรียบเรียง : www.swenth.com

share on: