วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก

วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก

ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ หรือวิธีปลูกผักในน้ำ เป็นวิธีที่หลายคนคิดว่าจะต้องลงทุนสูง และยุ่งยากในการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นในหลายเรื่อง เช่น

เรื่องปุ๋ยน้ำ AB เรื่องระบบไหลเวียนของน้ำ รางเพาะ รางปลูก รวมไปถึงต้องทำโรงเรือน บลา ๆ

แต่จริง ๆ แล้วนั้น การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไม่ยากอย่างที่คิด เราสามารถใช้ ขวดพลาสติก ที่เป็นวัสดุเหลือทิ้ง นำมาเป็นส่วนประกอบสำหรับการปลูก และเดินระบบไหลเวียนปุ๋ยน้ำ ได้ง่ายมาก ๆ อีกทั้งการลงทุนก็ ไม่แพง และไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด สิ่งเดียวที่ต้องลงทุนคือ เมล็ดผัก ฟองน้ำสำหรับจับยึดรากพืช และปุ๋ยน้ำ AB เพื่อให้พืชผักได้รับสารอาหารที่เพียงพอ แค่นั้นเอง

ปุ๋ยน้ำ AB ที่ใช้กับผักไฮโดรโปนิกส์ คือ ปุ๋ยชนิดที่ละลายในน้ำ

  • ปุ๋ยหรือสารละลาย A คือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลัก เช่น ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เนื่องจากสามธาตุนี้พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก แต่มักจะได้รับจากดินไม่ค่อยเพียงพอกับความต้องการ ต้องช่วยเหลือโดยใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ
  • สารละลาย B คือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารรอง เช่น แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) เป็นกลุ่มที่พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า และไม่มีปัญหาขาดแคลนในดินทั่วไปเหมือนธาตุหลัก

ดูวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ หรือผักในน้ำ แบบทำเองได้

ผักไฮโดรโปนิกส์ ส่วนใหญ่เหมาะกับผักอายุสั้น และเติบโตเร็ว การปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ดินสำหรับเก็บแร่ธาตุอาหาร เราจึงเห็นว่า กลุ่มผักสลัด เป็นพืชที่เหมาะสมในการปลูกระบบนี้ เนื่องจาก โตเร็ว และไม่ต้องดูแลมาก เพียงธาตุอาหารที่เพียงพอ ก็ทำให้พืชผักเหล่านี้ เติบโต ได้ดีในสภาพแวดล้อมปกติ

ขวดพลาสติก เป็นสิ่งที่ถูกดัดแปลง นำมาใช้กับการปลูกผัก แทนกระถางปลูก เนื่องจากไม่ต้องลงทุนมาก ( อ้างอิง : ปลูกผักในขวด )

อุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูก

สำหรับการปลูก ผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก แน่นอนว่า อุปกรณ์ที่ใช้หลัก ๆ คือ ขวดพลาสติก ฟองน้ำ เมล็ดพืช (แนะนำพืชในกลุ่ม ผักสลัด) และพื้นที่สำหรับการวางขวดปลูก แนะนำให้เป็นพื้นที่มี แสงสว่าง เพียงพอ อาจไม่ต้องโดนแดดก็ได้ แต่หากแสงแดดส่องถึง ก็จะทำให้ ผัก เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น

โดยการตัดขวดให้อยู่ในลักษณะตามรูป ดังนี้
วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก

ปลูกผักในน้ำ ขวดพลาสติกเป็นสิ่งสำคัญ

  1. ขวดพลาสติก นำขวดที่ได้มาทำความสะอาด แล้วตัดครึ่ง เว้นพื้นที่สำหรับใส่น้ำและปุ๋ยน้ำ ให้พอดีกับรากพืช อาจเว้นพื้นที่ให้มากหน่อย วิธีการตัดขวดแบบนี้ สามารถนำมาดัดแปลง ใช้สำหรับการปลูกผักในขวดพลาสติก แบบอื่น ๆ ก็ได้ด้วย ดูเพิ่มเติมที่ วิธีปลูกผักในขวดพลาสติก
  2. เจาะรูระบายอากาศ วิธีนี้จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากรากพืชต้องการอากาศอย่างเพียงพอ ในการเติบโต แต่หากเป็นการเพาะเมล็ด ก็อาจยังไม่จำเป็นต้องเจาะรูระบายอากาศ
  3. กล้าผัก นำกล้าผัก ที่อยู่ในฟองน้ำ ที่พร้อมปลูก ย้ายลงมาใส่ยังปากขวด โดยพลิกด้านปากขวดให้หงายขึ้น ตามรูป แล้วเติมน้ำที่ผสมปุ๋ยน้ำ AB เรียบร้อยแล้วลง ให้ได้ระดับ ไม่มากจนชิดโคนรากพืชเกินไป เพราะจะทำให้รากพืชเน่าได้ง่าย และหมั่นเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ สัปดาห์ละครั้ง ส่วนการผสมปุ๋ยน้ำสูตร AB ไม่จำเป็นต้องผสมเยอะ (ดูการผสมปุ๋ยน้ำ AB ด้านท้ายบทความนี้)
  4. แสง และความร้อน การวางไว้กลางแจ้งอาจทำให้เกิดตะไคร่น้ำ ควรหมั่นทำความสะอาดในทุกสัปดาห์ หรือ วางไว้ในที่มีแสงแดดส่องถึงเพียงครึ่งวันก็ได้ หรือวางไว้ในที่โลก ผักสลัดไม่ต้องการแสงมาก แต่ต้องควบคุมเรื่องความร้อน อาจวางผักไว้ชิดกันเพื่อลดความร้อนบริเวณรอบขวด

การเจาะรูขวด เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น แต่ข้อเสียคือ อาจทำให้น้ำระเหยเร็วขึ้น ดังนั้นจึงหมั่นตรวจสอบระดับน้ำให้คงที่ พื้นที่ใส่น้ำ อาจไม่ต้องเหลือพื้นที่มากนัก เพราะเราจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำในขวด สัปดาห์ละครั้ง ดังนั้นการผสมปุ๋ยน้ำ อาจไม่จำเป็นต้องผสมในปริมาณมาก เนื่องจากผักไม่ได้ต้องการมากมาย การเปลี่ยนถ่ายน้ำและปุ๋ยน้ำ จะทำให้ผักโตเร็ว เพราะจะได้ออกซิเจนในน้ำสะอาด และใหม่ อยู่เสมอ

เมื่อตัดขวดได้รูปแล้ว ปากขวดจะเป็นที่สำหรับใส่ ฟองน้ำ กับต้นกล้าผักที่เพาะไว้และงอกดีแล้ว โดยการเติมน้ำให้พอดีกับรากพืช (ไม่ต้องถึงปากขวด เพราะจะทำให้รากเน่า เหลือไว้เป็นส่วนของอากาศ) แต่หากใครขี้เกียจ ก็สามารถ เพาะเมล็ดผัก ได้ในขั้นตอนนี้ โดยการเติมน้ำสะอาด (ไม่ต้องผสมปุ๋ยลงในน้ำ) ให้มีระดับน้ำถึงครึ่งปากขวด (หรือท่วมครึ่งหนึ่งของฟองน้ำ) เพื่อใช้สำหรับการเพาะให้เมล็ดผัก งอก ก่อนได้ พอพืชงอก และมีรากเพียงพอแล้ว ค่อยปรับระดับน้ำ และผสมปุ๋ยสูตร AB ลงในน้ำ

วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก

เสร็จแล้วนำขวดไปวางไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก

การผสมปุ๋ยน้ำ AB สำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก

  • ผสมปุ๋ยให้ตรงกับชนิดของผักที่ปลูก เพราะผักแต่ละชนิด ต้องการธาตุอาหารหลัก (A) และธาตุอาหารรอง (B) ไม่เท่ากัน
  • ควรเลือกซื้อ สารอาหาร หรือธาตุอาหาร AB ที่เป็น ยี่ห้อเดียวกัน หากเป็นไปได้ ควรซื้อมาผสมเอง จะได้ตรงกับความต้องการ มากที่สุด
  • น้ำสะอาด หากเป็นน้ำประปา ควรทิ้งไว้ก่อน 2 วันเป็นอย่างน้อยเพื่อให้คลอรีนระเหยหมด
  • ผสมสูตร A ก่อน คือ สารละลาย A ปริมาณ 5ml ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร ผสมให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ 4-5 ชั่วโมง
  • ให้ ผสมสูตร B ทีหลัง เมื่อสูตร A ครบกำหนด จึงนำมาผสมกับสูตร B ให้เข้ากัน ในปริมาณที่เท่ากัน คือ สารละลาย B ปริมาณ 5ml ต่อน้ำ 1 ลิตร (น้ำที่ผสมสูตร A แล้ว)
  • ปุ๋ยน้ำ AB เขย่าสารละลาย A-B และน้ำสะอาดที่ผสม ให้เข้ากันดี จะได้ปุ๋ยน้ำ A-B ที่พร้อมใช้งานได้ทันที

ข้อควรทราบ น้ำ 1 ลิตร ใช้สารละลายสูตร A จำนวน 5ml ผสมให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ 4-5 ชม. เสร็จแล้วนำสารละลาย B อีก 5ml มาผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปใช้ได้เลย

ในน้ำ 1 ลิตร สามารถใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก เฉลี่ยได้จำนวน 3-5 ขวด โดยการวางไว้ในที่ร่ม และผสมใหม่ทุกครั้งในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ

วิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดพลาสติก

น้ำปุ๋ยที่ได้จากการเปลี่ยนถ่าย หากเหลือมากพอ (ปกติจะไม่เหลือ เพราะเวลา 1 สัปดาห์ พืชสามารถดูดซับไปจนหมด บวกกับการระเหยออกในแต่ละวัน) แต่หากเหลือ ก็สามารถนำมาใช้ซ้ำได้โดยการเติมสารละลาย A-B ในปริมาณที่ลดหลั่นกันไป

เช่น ผสมครั้งที่ 2 หากใช้น้ำปุ๋ยเดิม อาจลดปริมาณสารละลาย A-B เหลือ 4ml ต่อน้ำ 1 ลิตร


hosting สำหรับ wordpress โดยเฉพาะ
hosting คุณภาพสำหรับ wordpress โดยเฉพาะ

สารละลายที่ผสมแล้ว ควรใช้ให้หมดในคราวเดียว ไม่ควรเก็บไว้ เพราะจะทำให้เกิดตะไคร่หรือพืชชนิดอื่น ทำให้แร่ธาตุไม่เพียงพอ หากนำไปใช้กับพืช พืชผักอาจได้แร่ธาตุไม่พอ และเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ผักสลัด ปกติจะโตเร็ว เพียง 2 สัปดาห์ก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว ดังนั้น การผสมปุ๋ยน้ำเพียง 1 ลิตร สามารถปลูกผักสลัดได้มากถึง 3-5 ขวด/ต้น หรือบางคนอาจทำได้ถึง 7-8 ขวด สิ่งสำคัญคือ ความร้อน และแสงแดด หากควบคุมได้ดี ผักจะเก็บเกี่ยวได้ในสัปดาห์แรกหลังการปลูก

อ้างอิงเรื่อง ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวด
เรียบเรียง : www.swenth.com

share on: