บ้านแบบไหนเหมาะติดตั้ง Solar Rooftop

บ้านแบบไหนเหมาะติดตั้ง Solar Rooftop

การติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อป ก็เพื่อช่วยในการประหยัดค่าไฟฟ้า ที่จะต้องจ่ายในแต่ละเดือด

แต่ก็แลกมากับการวางเงินก้อนโต เพื่อประหยัดเงินก้อนเล็กในอนาคต แล้วการติดตั้ง จะคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ครัวเรือนแบบไหน บ้านขนาดเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะกับการติดตั้ง Solar Rooftop วันนี้เรามาดูกัน

จากกรณีที่ ค่าไฟพุ่ง สาเหตุหลักจาก ค่า Ft ที่ผันผวน และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูง เพราะเหตุต่าง ๆ โดยเฉพาะอากาศร้อน ในขณะที่แผงโซลาร์เซลล์ มีราคาถูกลง จึงไปเพิ่มโอกาสตัวเลือก Solar rooftop เข้ามา เพื่อเฉลี่ยความคุ้มค่า ของค่าไฟฟ้าในอนาคต

วันที่ 3 มิถุนายน 2566 นางสาวนพมาศ ฮวบเจริญ นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) นำเสนอบทวิเคราะห์ เรื่อง เมื่อค่าไฟแพงเป็นเหตุ…ติดแผงโซลาร์ดีไหม โดยชี้ว่า ค่าไฟฟ้าของครัวเรือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากค่า Ft ที่เร่งตัวสูงขึ้นผนวกกับความต้องการใช้ไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น

โดยค่าไฟฟ้าของครัวเรือนสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2565 และเร่งตัวขึ้นมากในช่วงท้ายปีต่อเนื่องถึงต้นปีนี้ ซึ่งเป็นผลจากทั้ง

1. ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ที่เร่งตัว โดยค่า Ft เร่งตัวตามต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติของโลกเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นพลังงานหลักของการผลิตไฟฟ้าในไทย และไทยมีแนวโน้มพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติในตลาด Spot มากขึ้น ซึ่งมีราคาสูงกว่า 2-3 เท่าของราคาก๊าซธรรมชาติในแหล่งอ่าวไทยและเมียนมา

2. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในสภาวะที่อากาศร้อนมากขึ้น ทำให้ต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ขณะที่ค่าไฟฟ้าเป็นอัตราก้าวหน้า (ยิ่งใช้ไฟมาก ก็ยิ่งจ่ายแพง) โดยถ้าใช้ไฟฟ้ามากกว่า 150 หน่วยค่าไฟฟ้าต่อหน่วย จะต้องจ่ายค่าไฟหน่วยถัดไปเพิ่มราว 20-30%

บ้านแบบไหนเหมาะติดตั้ง Solar Rooftop

ราคาแผงโซลาร์เซลล์ถูกลง เพิ่มโอกาสให้ Solar rooftop โต

ท่ามกลางค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นของครัวเรือน ขณะที่ต้นทุนการติดตั้ง Solar rooftop มีแนวโน้มลดลงตามราคาแผงโซลาร์ (ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของ Solar rooftop) ที่ลดลงต่อเนื่อง จึงช่วยเพิ่มโอกาสที่ครัวเรือนจะติดตั้ง Solar rooftop มีมากขึ้น

โดย SCB EIC คาดว่าราคาแผงโซลาร์จะยังคงลงต่อเนื่องในอีก 3 ปีข้างหน้าเกือบ 20% (เฉลี่ยปีละ 7%) จากที่ลดลงไปแล้วเกือบ 60% ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา[1] ทั้งนี้รูปแบบการติดตั้ง Solar rooftop ในที่อยู่อาศัยยังคงกระจุกตัวอยู่ในรูปแบบ On Grid System[2] เนื่องด้วยต้นทุนแบตเตอรี่ที่ยังสูง ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญใน Off grid system และ Hybrid system

3 เงื่อนไขสำหรับการติดตั้ง Solar rooftop

  1. ค่าไฟฟ้า 3,000 บาท/เดือน
  2. ใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันมากกว่า 50%
  3. เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยแนวราบที่หลังคาใช้วัสดุแข็งแรงและมีพื้นที่อย่างน้อย 14 ตร.ม. แม้โอกาสการติดตั้ง Solar rooftop จะมากขึ้นจากราคาที่ถูกลง แต่ก็ใช่ว่าครัวเรือนทุกหลังจากเหมาะสมที่จะติดตั้ง หากพิจารณาจากต้นทุน การประหยัดค่าไฟฟ้า พร้อมกับจุดคุ้มทุน

บ้านแบบไหนเหมาะติดตั้ง Solar Rooftop

บ้านแบบไหน เหมาะสมจะติดตั้ง Solar rooftop

  1. ควรมีค่าไฟฟ้า 3,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป เนื่องจากหากค่าไฟฟ้าต่ำกว่านั้น จุดคุ้มทุนมีโอกาสเกือบเท่ากับอายุของแผงโซลาร์ที่ 25 ปี ทำให้ครัวเรือนไม่สามารถได้กำไรจากการติดตั้ง หรืออาจขาดทุน หากมีค่าใช้จ่าย Inverter เครื่องใหม่เกิดขึ้น
  2. ควรใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันตั้งแต่ 50% ของการใช้ไฟฟ้าตลอดวัน เช่น บ้านที่มีผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่ไม่ได้ทำงาน และ Home office เป็นต้น
  3. เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยแนวราบที่มีพื้นที่ติดตั้งอย่างน้อย 14 ตร.ม. ใช้วัสดุที่แข็งแรงรับน้ำหนักได้ และลาดเอียงทางทิศใต้/ตะวันตก/ตะวันตกเฉียงใต้

SCB EIC คาดกลุ่มเป้าหมายในการติดตั้ง Solar rooftop สำหรับภาคครัวเรือนอาจมีอยู่ราว 1.7 แสนครัวเรือน (0.8% ของครัวเรือนไทยทั้งหมดที่ 23 ล้านครัวเรือน) คิดเป็นมูลค่าตลาดการติดตั้งรวมประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และภาคกลางเป็นหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ค่อนข้างสูง (มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน)

แม้กลุ่มเป้าหมายจะมีสัดส่วนน้อย แต่หากเกิดปัจจัยเร่งอื่น ๆ เพิ่มเติม ก็อาจช่วยหนุนให้ Solar rooftop ในครัวเรือนไทยเร่งตัวขึ้นได้ในอนาคต โดยกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสติดตั้ง Solar rooftop จะมีเพียง 0.8% ท่ามกลางเงื่อนไขราคาติดตั้งและต้นทุนค่าไฟฟ้าแบบปัจจุบัน ขณะที่ครัวเรือนที่ติดตั้ง Solar rooftop ไปแล้วยังมีไม่ถึง 0.1% ซึ่งถือว่าเป็น Adoption rate ที่ต่ำมาก

ทั้งนี้ Adoption rate อาจเร่งตัวขึ้นได้อีก หากมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น


hosting สำหรับ wordpress โดยเฉพาะ
hosting คุณภาพสำหรับ wordpress โดยเฉพาะ

  1. การแข่งขันของผู้ติดตั้งที่มีสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนติดตั้งถูกลง
  2. ราคาค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้น
  3. ต้นทุนของแบตเตอรี่ที่ถูกลง ซึ่งจะสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายติดตั้งกว้างมากขึ้น
  4. การอุดหนุนของภาครัฐ โดยเฉพาะการให้เงินอุดหนุนต้นทุนการติดตั้งของครัวเรือน ปัจจัยสำคัญที่หนุนให้เกิด Adoption rate ที่สูงในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ซึ่งมี Adoption rate สูงถึงกว่า 30%

นอกจากนี้ หากภาครัฐปรับราคารับซื้อไฟฟ้าให้สูงขึ้นจากปัจจุบันที่ 2.2 บาทต่อหน่วย ซึ่งยังต่ำมากเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตหน้าโรงไฟฟ้าในทุกประเภทพลังงานเฉลี่ยที่ 3.77 บาทต่อหน่วย และต้นทุนการผลิตหน้าโรงไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์เฉลี่ยที่ 7.73 บาทต่อหน่วย

5) Platform ในการช่วยตัดสินใจในการติดตั้ง Solar rooftop เพื่อให้ภาคครัวเรือนมีเครื่องมือในการช่วยประเมินความเหมาะสมและความคุ้มค่า เพื่อประกอบการตัดสินใจในการติดตั้ง Solar Rooftopแบบเฉพาะเจาะจงกับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าและรูปแบบหลังคาที่เหมาะสมกับครัวเรือนแต่ละราย

ขอบคุณที่มา www.msn.com
เรียบเรียง : www.swenth.com

share on: