ภาวะลองโควิด Long Covid อันตรายจริงหรือไม่ ฟังจากปากแพทย์โดยตรง
จากข้อมูลในรายการ Covid Forum มีคำตอบจาก ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ นพ.ฆนัท ครุฑกูล นายกสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ และพญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข และหัวหน้ากลุ่มฉุกเฉินทางการแพทย์ ได้มีการพูดคุยกันในเรื่อง ภาวะ Long Covid อันตรายจริงหรือไม่
โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ได้กล่าวว่า โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังแพร่ระบาดตอนนี้ ยิ่งนานวันเข้า จะเกิดมีภาวะ Long Covid ซึ่งแต่แรกเริ่มนั้น การระบาดของโควิด-19 ผู้ที่ติดเชื้อจะมีการเข้ารับการรักษาแบบม้วนเดียวจบ จนอาการติดเชื้อหายขาด จนสามารถกลับไปพักที่บ้านได้ และเมื่อร่างกายแข็งแรงดี จึงออกไปทำงานหรือใช้ชีวิตในแบบปกติ แต่ก็ยังต้องมีการปฏิบัติตามมาตรการ SOCIAL DISTANCING แต่ความวิตกจากภาวะ Long Covid จะทำให้ต้องพบแพทย์โดยด่วน
ภาวะลองโควิด คืออะไร
ภาวะ Long Covid นั้นสามารถเกิดขึ้นในผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาสุขภาพร่างกายจนแข็งแรงดีแล้ว และในช่วงระยะเวลา 3-6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อของการตรวจหาเชื้อไม่พบแล้ว แต่อาจจะแสดงอาการต่างๆ ได้เช่น ปวดหัว มึนงง แสบตา คันตา น้ำตาไหล คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น มีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน
เหตุใด ภาวะ Long Covid จึงต้องพบแพทย์ด่วน
อาการจากภาวะ Long Covid นั้นจะเป็นๆ หายๆ และจะมีอาการอื่นๆ ที่รุนแรงขึ้นในช่วงระยะเวลา 8-9 เดือน เช่น หลงลืม ผมร่วง แขนขาอ่อนแรง ความจำสั้น ความดันโลหิตสูง การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย และจะมีอาการผิดปกติทางด้านอารมณ์เกิดขึ้น เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ จิตใจไม่แจ่มใส
ภาวะลองโควิด อาการเหล่านี้ ผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาแล้วต้องคอยสังเกตุอาการด้วยตนเอง และเมื่อพบอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยทันที หากปล่อยระยะเวลา หรือทิ้งอาการเอาไว้ อาจทำให้สายเกินแก้ได้
สำหรับยอดติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ 21 มีนาคม 2565 ติดเชื้อเพิ่ม 23,441 ราย เสียชีวิต 88 ราย
ที่มาข่าว : มติชนออนไลน์
เรียบเรียง : www.swenth.com