เขียนบทวิจารณ์ จากที่เขียนมาเยอะอ่านมาเยอะ จนต้องหยิบเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นเสียหน่อยเกี่ยวกับ วิธีการเขียนรีวิว เขียนบทวิจารณ์ เราจะเขียนอย่างไรไม่ให้โดนฟ้องกลับ
จากกระแสข่าวที่มีไอดอล เซเลป หรือแม้แต่ดาราชื่อดัง ได้ฟ้องกลับคนไปแสดงความคิดเห็น ไปรีวิว ไปเขียนบทวิจารณ์ในทำนอง กล่าวหา หรือเข้าข่ายหมิ่นประมาท จนทำให้เขาต้องออกมาฟ้องร้อง เรียกค่าเสียหายกันหลายหมื่นหลายแสน จนทำให้เกิดดราม่าต่อกันไปมา สำหรับเรื่องนี้ไม่มีใครได้ประโยชน์ คนเขียนอาจได้ค่าเหนื่อยจากยอดโฆษณาและยอดคำชม แต่ต้องเสียเงินเสียทอง ส่วนคนถูกเขียนถึงก็เสียชื่อเสียง แต่ได้ค่าตอบแทน ต่างฝ่ายก็ต่างไม่ได้คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับ
ดังนั้นในฐานะที่ www.swenth.com คือนักเขียนบล็อกคนหนึ่ง จึงอยากแชร์ประสบการณ์ในการเขียนรีวิว เขียนบทวิจารณ์ หรือเขียนคอมเม้นท์ ว่า เราจะเขียนอย่างไร ไม่ให้โดนฟ้องกลับ มาฟังกันดูหน่อยนะ
เขียนบทวิจารณ์ รีวิว อย่างไรให้ถูกกฏหมาย
โดยอ้างอิงข้อกฏหมายจาก คุณทนานเจมส์ #คนดังนั่งเขียน ในคอลัมน์ของไทยรัฐออนไลน์ที่ www.thairath.co.th/news/local/1335586 และ www.thairath.co.th/news/local/1397522 เค้าระบุไว้ช่วงหนึ่งเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นที่ไม่เข้าข่ายการดูหมิ่น (คือไม่ผิดกฏหมายนั่นแหละ) ไว้ประมาณว่า
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
- เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
- ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
- ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
- ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
บทกฏหมายมันเข้าใจยากและก้ำกึ่งทำให้งงงวย www.swenth.com เลยอยากอธิบายให้เข้าใจว่า
หากเราจะเขียนบทวิจารณ์ เขียนรีวิว ให้ถูกกฏหมาย และเพื่อไม่ให้ใครมาฟ้องเราได้เนี่ย มันทำได้ง่ายมาก จะสรุปมาเป็นข้อๆ ดังนี้
เขียนบทวิจารณ์ แนะนำการเขียนรีวิว เขียนอย่างไรไม่ให้โดนฟ้อง
ซึ่งผู้เขียนเองก็ไม่ได้ชำชองเรื่องกฏหมายหรอกนะ แต่อยากจะมาแชร์ประสบการณ์ในการเขียนสำหรับคนที่สนใจอยากจะเขียนรีวิวเรื่องทำนองแบบนี้ ว่าเขียนอย่างไรไม่ให้เขาฟ้องเอาได้ โดยเฉพาะในข้อหา หมิ่นประมาท เพราะหลายคน ตกม้าตายกันมานักต่อนัก กับเรื่องนี้
- เขียนความจริง แต่ความจริงก็สามารถฆ่าเราได้เช่นกัน ในสำนวนกฏหมายหมิ่นประมาทนั้น คำว่า “ยิ่งจริงยิ่งผิด” ใช้ได้ผลเสมอ ตราบใดที่ เรื่องจริงนั้น ไม่ได้สร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม เท่ากับว่า ต่อให้เราเขียนเรื่องจริงแค่ไหน แต่มันไม่ได้ทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์จากเรื่องที่เราเขียน เราโดนฟ้องแน่นอน เช่น ไปวิจารณ์ว่าคนนั้นคนนี้ตกต่ำ เหยียดนั่นนี่ รวมไปถึงรูปลักษณ์หน้าตาเขา โดยที่เรื่องนี้ ไม่ได้ประโยชน์อันใดกับบุคคลอื่นยกเว้นคนเขียน โดนฟ้องแน่นอน
- เอ่ยชื่อจริง หรือคำที่พิสูจน์ได้ว่า คือผู้เสียหายจริง แบบนี้ไม่รอด โดนฟ้องแน่นอน มันจึงเป็นตัวอย่างให้นักเขียนข่าวทั้งหลาย ชอบใช้ชื่อย่อ หรือฉายา ให้เดากันไปต่าง ๆ นา ๆ แบบนี้ถือว่า พอทำให้รอดจากการโดนฟ้องได้
- เขียนลบหลู่ดูหมิ่น ลักษณะคำหรือข้อความ แสดงออกถึงความดูหมิ่น ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างเด่นชัด เช่น นาย (เอ่ยชื่อ) คนนั้นชอบพา (ชื่อ) คนนั้นไปทำอะไรกัน ทั้งๆ ที่ก็มีเมียแล้ว เป็นต้น การเขียนแบบนี้แม้ว่า นายและนางคนนั้นจะพากันไปทำอะไร หรือไม่ทำอะไร แม้แต่การคาดเดาเรื่องอนาคต (ตามกฏหมายว่าด้วยเรื่อง การแสดงความเห็นเชิงคาดเดา) ก็ไม่ควรกระทำ แต่สามารถเขียนในแบบที่ฟ้องไม่ได้ ก็จะประมาณว่า เคยเห็น นาย ก. ชอบพา นาง ข. เข้าโรงแรมทุกวัน ทั้งๆ ที่ นาย ก.ก็ไม่โสด แบบนี้ก็ได้เหรอ? กรณีนี้เขียนเชิงคำถาม รอดแน่ ไม่โดนฟ้อง
- กรณี เขียนรีวิว ให้เขียนในเชิงปกป้องส่วนได้เสียของตนเอง แต่ก็ไม่ลืมเงื่อนไขด้านบนด้วย เช่น ไปกินอาหารร้านนั้นแล้วไม่อร่อย แถมแพง เลยอยากจะเขียน ก็จะเขียนบทรีวิวได้ประมาณว่า ได้ไปกินอาหารร้าน (ไม่เอ่ยชื่อจริง) ในวันเวลานั้นๆ เขาคิดราคาเท่านั้น แต่รสชาติไม่ถูกปาก เค็มไป หวานไป เลี่ยนไป ระบุว่าสิ่งไหนที่เราไม่ชอบไปตรงๆ และแสดงความเห็นเชิงเปรียบเทียบกับ ราคาและคุณภาพ ของอีกร้านที่ใกล้เคียงกัน นำเสนอให้คนอื่นๆ ได้ประโยชน์จากข้อมูล โดยไม่มีข้อความให้ร้าย หรือแสดงความเกลียดชังต่อร้านนั้นๆ แบบนี้ ผ่าน
- ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ แน่นอน ไม่พึงประสงค์ต่อผู้รับฟังหรือผู้อ่าน ใครเข้ามาอ่านแล้วมีแต่ถ้อยคำหยาบโลน ไม่รอดจากการโดนฟ้องแน่ ๆ
- อ้างอิงเนื้อหาที่เปิดเผยแล้ว ก่อนจะเขียนบทวิจารณ์ใคร รีวิวอะไร ควรจะหาข้อมูลที่ถูกเปิดเผยไว้แล้ว ยิ่งเป็นข้อมูลที่มาจากเจ้าของเรื่อง ยิ่งมีความหนักแน่นของข้อมูลมาก เพราะสามารถนำมาใช้อ้างอิงต่อศาลได้ว่า นี่เป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมและเปิดเผย ซึ่งข้อมูลตรงนี้ จะถือว่าไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะเราได้ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยแล้ว มาอ้างถึงเท่านั้น
- เอ่ยถึงบุคคลที่สาม ต้องวิจารณ์ให้อยู่ในแนวทางที่ สังคม ได้ประโยชน์ด้วย ไม่ใช่นึกจะเอ่ยก็เอ่ยขึ้นมาลอยๆ ทำให้เขาเสียหาย แล้วก็ไม่ได้ประโยชน์อันใดต่อคนอื่น ยกเว้นคนเขียนได้ความสะใจ แบบนี้เข้าข่ายโดนฟ้องยับ
- ใส่สีตีไข่ แน่นอน เมื่อเราเขียนบทวิจารณ์ เขียนรีวิว เราอาจเขียนไปในเชิงออกความคิดเห็นส่วนตัว มโนไปเรื่อย จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม หากสิ่งที่เราใส่เข้าไป มีแต่ข้อดี ก็อาจจะรอดไม่โดนฟ้อง แต่เมื่อใดก็ตามที่เรามโนไปในแนวทางแย่ๆ แม้จะพิสูจน์ได้ว่ามันคือเรื่องจริงในภายหลัง แต่ก็อาจโดนฟ้องยับจนไม่เหลือชีวิตรอเวลาพิสูจน์ความจริง เพราะฉะนั้น ควรระวังเรื่องการมโนนั่งเทียนนิสสนุง อย่างเช่นพวกเต้าข่าวตามสื่อทั้งหลาย อยากให้โดนฟ้องหนักๆ เป็นตัวอย่างกันจริงซักราย จะได้เป็นบรรทัดฐานว่า ไม่ควรกระทำ แต่อย่างว่า การฟ้องร้องใด ๆ ย่อมมีต้นทุนเสมอ เมื่อทุนไม่ถึงความนั้นก็เงียบ
- เงียบ แล้วไปหาอย่างอื่นทำ หากไม่รักที่จะเขียนจริงจัง และกระเป๋าตังก์ไม่หนาจริงๆ ก็ไม่ควรเขียนบทวิจารณ์เกี่ยวกับผู้คน หรือเรื่องแย่ๆ ให้สังคมได้รับรู้ ไม่มีใครอยากรับรู้เรื่องแย่ของตัวเอง แต่เรื่องแย่ของคนอื่นอาจชอบ หากทุนไม่ถึงก็ไปทำอย่างอื่นดีกว่า เชื่อเหอะ ไม่ง่ายหรอก หากโดนเข้าไปแล้ว เครียดจริง ๆ แม่เอ้ย
สำหรับ ใครที่ตัดสินใจได้ว่า จะเขียนรีวิว เขียนบทวิจารณ์ลงเว็บไซต์ หรือทำคลิปรีวิวใดๆ ก็ให้พึงระวังในเรื่องที่เตือนด้านบน หากทำได้ตามนี้ รับรองว่ารอดจากการโดนฟ้องแน่นอน แต่หากยังโดนอยู่ ก็สามารถต่อสู้ในเรื่องนี้ได้ว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นแบบชอบธรรม ก็เพื่อปกป้องส่วนได้เสียให้ตัวเองเท่านั้น ส่วนจะมีความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทหรือไม่ จะเข้าข่ายเป็นข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 หรือไม่ ต้องรับผิดชอบมากน้อยแค่ไหน
เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของศาล ในการพิจารณาพิพากษาคดีในอนาคต แค่เราทำตามนี้ รับรองว่าความเป็นไปได้ที่จะชนะคดี มีสูงแน่นอน