ฝีดาษลิง อาการ คล้ายโรคอีสุกอีใส แต่แตกต่างกัน 2-3 เงื่อนไข ตรงไหนบ้างมาดู
ตอนนี้ ประเทศไทย เริ่มที่จะมีผู้ป่วย ฝีดาษลิง ที่ยืนยันแล้วว่าใช่ เป็น 2 ราย (Update วันที่ 29/7/65) ถึงกระนั้น ประเทศไทย ก็ยังไม่ประกาศให้ โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่ออันตราย
ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) จะประกาศให้เป็น สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ และในต่างประเทศตอนนี้ ก็ทยอยปรับสถานะให้เป็นโรคติดต่ออันตรายกันแล้ว
ขนาดนายกฯ ยังบอกเลยว่า โรคนี้เป็นแล้วหายได้เอง อยู่เลย ซึ่งจะเรื่องจริงหรือไม่นั้น ต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ เหมือนกับรัฐมนตรีบางท่าน ได้พิสูจน์การติดโควิด-19 ไปแล้วหลายคน ก็คงเดาได้ว่าระหว่าง โควิด-19, ฝีดาษลิง หรืออีสุกอีใส อะไรอันตรายกว่ากัน
ฝีดาษลิง อาการ ต่างกับ โรคอีสุกอีใส อย่างไร
โรคฝีดาษวานร (EOC) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โรคฝีดาษลิง” แม้จะยังเป็นแค่ โรคติดต่อเฝ้าระวัง ในประเทศไทย แต่มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 2 คน และมีการแพร่ระบาดไปแล้วมากถึง 75 ประเทศ ผู้ติดเชื้อมากกว่า 17,000 รายจากทั่วโลก อาการโดยทั่วไป หากได้รับเชื้อ
- มีไข้ ปวดตามตัว เหมือนไข้หวัด
- มีผื่น หรือตุ่มใส พบได้ที่ ใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือที่อวัยวะเพศ ร่วมด้วย
- มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต
- มีอาการปวดจากตุ่มรุนแรง หากตุ่มขึ้นตา อาจทำให้ตาบอดได้
- มีข้อสันนิษฐานว่า ส่วนใหญ่จะเกิดจากกลุ่ม ชายรักชาย มากกว่า เนื่องจากผู้ป่วยรายล่าสุด มีเพศสัมพันธ์กับชาวต่างชาติที่เป็นโรคนี้
อย่างไรก็ตาม ฝีดาษลิง มีอาการ คล้ายโรคสุกใส แต่ไม่ได้ติดต่อกันง่าย เหมือนโรคติดต่อทั่วไปชนิดอื่น จะต้องมี การสัมผัสใกล้ชิด กับผู้ที่เป็นโรค ถึงจะเกิดโอกาสในการติดเชื้อ
แม้อัตราการเสียชีวิตจาก โรคฝีดาษลิง จากสถิติ จะมีไม่สูงมาก โดยเปรียบเทียบกับ ยอดผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน กว่าใน 75 ประเทศ รวม 17,000 กว่าราย มีเสียชีวิตทั้งหมด 5 ราย เท่านั้น
ก็ยังต้องรอดูงานวิจัยถึงผลกระทบ ต่อผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อแล้วหาย ว่าจะส่งผลกระทบด้านใดบ้าง แต่แม้จะไม่ร้ายแรง ไม่ติด ไม่เป็นโรค จะดีที่สุด
โรคอีสุกอีใส หรือโรคสุกใส (Chickenpox/Varicella)
อาการที่มักจะเกิดขึ้น
- เป็นในเด็ก อาจพบในผู้ใหญ่ ที่ยังไม่เคยมีภูมิคุ้มกันต่อสุกใส ในขณะที่ฝีดาษลิงพบมากในผู้ชาย โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ
- การติดเชื้อมักเป็นในครอบครัว เนื่องจากติดเชื้อผ่านละอองฝอย (airborne) เป็นหลัก ขณะที่ฝีดาษลิงติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิดเป็นหลัก
- ผื่น หรือตุ่มใส เกิดที่ตัว มากกว่าแขนขา ไม่ค่อยพบ ตามฝ่ามือฝ่าเท้า หรืออวัยวะเพศ
- ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือเคยเป็นมาก่อน โอกาสน้อยที่จะเกิดซ้ำ
วัคซีนโรคฝีดาษ และการเฝ้าระวังอาการ
หากจำเป็นต้องเฝ้าระวัง โรคนี้ อย่างใกล้ชิด มีการเตรียมการรองรับการฉีด วัคซีนฝีดาษคน (smallpox) ซึ่งมีเก็บไว้ประมาณ 500,000 โดส นานกว่า 40 ปี มีคุณภาพตามมาตรฐานวัคซีนไวรัสทั่วไป หากเกิดการระบาดขึ้น จะสามารถ นำมาใช้ในการป้องกันโรคได้
ตามปกตินั้น ผู้ที่เป็น โรคฝีดาษลิง แล้วมีอาการต่าง ๆ จะสามารถหายได้เอง ด้าน สธ.สิงคโปร์ ก็ให้คำแนะนำว่า ไม่ควรมีการ ฉีดวัคซีน ให้ประชาชน ในวงกว้าง เนื่องอาจทำให้เกิด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ รวมถึงถ้าสัมผัสใกล้ชิด ก็อาจติดต่อกันได้อยู่ดี ดังนั้น รอดูท่าที สธ.ไทย ว่าจะมีแนวทางไหน ที่จะป้องกันและแก้ไขได้บ้าง
ต้นกำเนิด โรคฝีดาษลิง
โรคฝีดาษวานร (Monnkeypox Virus) หรือ ฝีดาษลิง อาการ ต้นกำเนิดเชื้อจริง ๆ มาจากไวรัส ที่มีพาหะหลักคือ กลุ่มสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต แต่นักวิจัย ดันไปเจอเชื้อในลิง เป็นครั้งแรก ลิงจึงกลายเป็นแพะไปโดยปริยาย เป็นที่มาของชื่อ ฝีดาษลิง